เทคนิคการเข้าไม้สไตล์ญี่ปุ่นที่ไม่เหมือนใคร

ประเทศญี่ปุ่นจัดว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มียอดฝีมือด้านงานช่างเยอะมาก เอาแค่งานศิลปะของพวกเค้าก็ถือว่าไม่เป็นสองรองใครแล้วเหมือนกัน ด้านงานไม้ ประเทศญี่ปุ่นก็มีช่างไม้ฝีมือระดับเทพ อยู่มากมาย พวกเค้าต่างสร้างและสะสมองค์ความรู้เกี่ยวกับงานไม้มาอย่างยาวนาน ล่าสุดได้มีการรวบรวมเทคนิคการเข้าไม้ (การประกบไม้) สไตล์ญี่ปุ่นมารวบรวมไว้ ซึ่งแต่ละแบบนั้นต้องยอมรับเลยว่า สุดยอดจริงๆ

เทคนิคเข้าไม้แบบท่อนเดียว

เทคนิคแรกถือว่าน่าสนใจมาก นั่นคือการประกบไม้สองท่อนให้กลายเป็นท่อนเดียวกัน ส่วนใหญ่เวลาเราบากไม้เพื่อประกบกันนั้นมันจะสามารถเข้าได้เพียงแค่ด้านเดียวเท่านั้น แต่เทคนิคเข้าไม้ของญี่ปุ่นล้ำกว่านั้น เค้าบากไม้เป็นรูปคล้ายกับดอกไม้ที่มีความลึกและลวดลายอันซับซ้อน อาจจะดูเหมือนไม่มีอะไรแต่พอจะเข้าประกบไม้ รอยบากนี้จะสามารถทำให้เราเข้าประกบไม้ได้ทุกทิศทางเลยทั้งแนวตั้ง แนวนอน พลิกด้านหน้าด้านหลังทำได้หมด

การเข้าไม้รูปตัว L

อีกหนึ่งวิธีผู้เขียนมองว่ามันเจ๋งมาก นั่นคือการเข้าไม้เป็นรูปตัว L คล้ายกับการเข้าไปมุมฉาก โดยปกติเราเข้าไม้แบบนี้ก็จะเอามาติดกันเป็นมุมฉากแล้วตอกตะปู แต่ญี่ปุ่นล้ำกว่านั้น พวกเค้าจะฉลุลายเป็นร่องด้านหนึ่ง ไม้อีกแผ่นหนึ่งก็จะฉลุเป็นตัวเสียบ ไล่ตั้งแต่บนลงล่าง เว้นระยะให้เท่านั้น จากนั้นพอเข้าไม้ก็เสียบรอยฉลุนั้นลงไปเพียงเท่านั้นก็เข้าไม้ได้สนิท แน่น แบบไม่ต้องตอกตะปูด้วยซ้ำ การฉลุอาจจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมช่องเล็กก็ได้

การเข้าไม้ท่อนเป็นรูป ตัว L

อีกหนึ่งวิธีต่อเนื่องจากการเข้าไม้เป็นรูปตัว L นั่นคือหากไม้ที่เราจะเข้านั้นเป็นไม้ท่อน วิธีการของเค้าจะแปลกจากบ้านเราสักหน่อย หากเป็นบ้านเราจะเข้าไม้ท่อนแบบนี้จะบากตรงปลายไม้ให้เป็นแนวเฉียงรับกับอีกท่อนหนึ่งที่เฉียงเข้าหากัน แต่ของญี่ปุ่นเค้ามีเทคนิคซ้อนขึ้นอีกหนึ่งขั้น คือ พวกเค้าจะแกะสลักไม้เป็นร่อง แล้วก็นำไม้มาเสียบไว้ในร่องนั้น ให้ไม้ทำหน้าที่เป็นตัวขัดให้การเข้าไม่ติดกันมากขึ้น

การเข้าไม้ติดกระดูก

อีกหนึ่งเทคนิคเราขอตั้งชื่อว่า การเข้าไม้ติดกระดูก วิธีการก็คือ เราหั่นไม้ออกเป็นสองท่อน จากนั้นให้เกลาปลายไม้ให้เกลี้ยงเพื่อเข้าประกบกันธรรมดา แต่ไม่ธรรมดา ตรงที่จะมีการเซาะร่องไม้ทั้งสองข้างเป็นรูปกระดูกหมา จากนั้นเวลาประกอบก็เอาไม้ที่เป็นทรงกระดูกหมามาวางไว้ตรงร่องที่แกะสลักไว้อีกที เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวล็อคธรรมชาติให้ไม้เข้ากันสนิท จะเห็นว่าการเข้าไม้ของญี่ปุ่นนั้นมีความแตกต่าง ลุ่มลึกกว่าของบ้านเราพอสมควรเลยทีเดียว ลองไปหาศึกษาเพิ่มเติมกันได้

การแกะสลักไม้ควรเลือกใช้ไม้แบบไหน

การแกะสลักไม้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิชาชีพช่างที่ต้องบอกว่าหากทำได้อย่างชำนาญแล้ว หาตัวจับยากมาก เนื่องจากมีงานเข้ามาตลอดเวลา การทำงานแกะสลักไม้นั้นช่างจะต้องเป็นคนที่ใจเย็นพอสมควรเลยทีเดียว เนื้อไม้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในการแกะสลักไม้ หากจะแกะสลักไม้เราควรเลือกใช้ไม้แบบไหนบ้าง เรามีตัวอย่างมาแนะนำ

ไม้สัก ดีที่สุด

หากเลือกได้ จะแกะสลักไม้ทั้งที ไม้แบบไหนดีที่สุด ตอบแบบไม้ต้องคิดเลยนั่นคือ ไม้สักอย่างแน่นอน (ควรมีอายุเกิน 10 ปีขึ้นไปด้วย) ที่เป็นอย่างนั้นเพราะว่าไม้สักมีการสร้างน้ำยางออกมาเองได้ น้ำยางตัวนี้สัตว์ที่ชอบกินเนื้อไม้อย่างปลวก มด ไม่ชอบเอาเสียเลย นั่นทำให้เฟอร์นิเจอร์ไม้สักจะไม้เจอปลวกกินแน่นอน ไม่เพียงเท่านั้นการตัดแต่ง เลื่อย ขัด ก็ทำได้ง่ายกว่าไม้ชนิดอื่นทำให้งานแกะสลักของเรานั้นไม่หนักมากเกินไป

ไม้เต็ง รับน้ำหนักได้ดี

แต่ถ้าการใช้ไม้สัก อาจจะแพงเกินไปและหายาก ลองปรับระดับลงมาไม้ชนิดอื่นบ้าง อย่างไม้เต็ง ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดี เนื่องจากว่า ไม้เต็ง จะเป็นไม้มีความทนทานมาก ทั้งทน อึด ถึก ต่อสภาพอากาศ ไม้เต็งสามารถรองรับน้ำหนักได้ดี จึงนำไปสร้างเป็นโครงสร้างอย่าง เสา คาน มากกว่าสวนการแกะสลักก็ทำได้ไม่ยากเท่าไร ข้อสำคัญเวลามันแตกจะเป็นลายงาขึ้นมาอาจจะทำให้งานแกะสลักไม่สวยไปด้วย

ไม้ยางพารา ใช้ยากแต่ใช้ดี

ไม้อีกแบบหนึ่งที่ต้องบอกก่อนว่าใช้ค่อนข้างยาก แต่ใช้แล้วก็ออกมาดีเหมือนกัน นั่นคือไม้ยางพารา ไม้ยางพาราเกิดจากการนำไม้ที่รีดน้ำยางออกหมดแล้วมาอบอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ไม้แข็งขึ้นและใช้งานได้ เนื้อไม้จะมีลายสีขาวนวลชมพู ข้อเสียลายไม้ไม่ค่อยชัดเจนสักเท่าไร ด้านความทนทานก็พอรับได้ แนะนำว่าแกะสลักสำหรับเครื่องประดับบ้าน ดีกว่าแกะสลักเพื่อเป็นเครื่องใช้จะดีกว่า

ไม้ประดู่ สีแดงทนทาน

ไม้อีกชนิดหนึ่งเราน่าจะได้เห็นกันบ่อยนั่นคือ ไม้ประดู่ ไม้แบบนี้จะมีจุดเด่นเรื่องของสีแดง ไม้แบบนี้จะมีสีแดงอมเหลือง เหมือนสีแดงอิฐ ตัวลายไม้เข้มข้นชัดเจน หากต้องการงานแกะสลักเพื่อโชว์ลายไม้ ไม้ประดู่ นับว่าตอบโจทย์ได้ดีเหมือนกัน ยิ่งพวกเครื่องเรือนแบบจีนที่ชอบโชว์เนื้อไม้ สีแดงนี่ถือว่าเข้ากันเลย ยิ่งปุ่มของลายไม้หากแกะสลักสวยๆ แล้วยิ่งทำให้งานไม้นั้นโดดเด่นมากขึ้นไปอีกเยอะเลย ใครชอบงานไม้แบบไหนลองเข้าไปศึกษากันได้

วิธีดูแลรักษาบ้านไม้ให้สวยงามตลอดเวลา

ในการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยตั้งแต่สมัยโบราณมา ไม้ คือวัสดุที่สำคัญที่คนเรานำมาสร้างบ้าน โดยเฉพาะบ้านในภูมิภาคเขตร้อนอย่างบ้านเรา การใช้ไม้เป็นวัสดุในการสร้างบ้านนับว่าเป็นภูมิปัญญาและเป็นความเหมาะสมสำหรับสภาพภูมิอากาศอย่างยิ่ง แต่ด้วยธรรมชาติแท้จริงของไม้ ที่มักมีความซีดหรือกร่อนไปตามกาลเวลาทำให้เราจำเป็นจะต้องดูแลรักษาเนื้อไม้ให้สวยงามตลอดเวลา อีกทั้งการดูแลที่ดียังช่วยยืดอายุการใช้งานของไม้ได้ด้วย ใครที่มีบ้านไม้ก็ควรดูแลรักษาเนื้อไม้ไว้ให้คงทนสวยงามด้วยวิธีการดังนี้

เริ่มจาก โครงสร้างไม้ภายนอกบ้านเช่นประตูและหน้าต่าง ระแนงบ้าน พื้นชานเรือนปกป้องผิวไม้จากความชื้นที่อาจเกิดได้ตลอดเวลา และปกป้องจากแสงแดดด้วยวิธีการทาสีน้ำมัน หรือเลือกเป็นทาสีน้ำพลาสติกที่ผลิตสำหรับงานไม้โดยเฉพาะ อีกวิธีคือใช้สีย้อมไม้ ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้เมื่อทาแล้วซึมเข้าเนื้อไม้ โดยตรง ทำให้ลายไม้ชัดๆ ดูสวย มีความทนทานากกว่าการทาด้วยน้ำยาเคลือบผิวแบบฟิล์มใส อย่าง พอลิยูรีเทนหรือแล็ก จากนั้นต้องมีการใช้น้ำยาป้องกันแมลงกัดกินไม้ ด้วย ขั้นตอนในการดูแลไม้นอกบ้านทั้งที่อยู่ในที่ร่มและกลางแจ้ง ถ้าใช้ไปนานๆ เกิดการลอกร่อนหรือโก่ง ให้ใช้วิธีขัดสีเดิมออกให้ลึกถึงเนื้อไม้ จากนั้นไสผิวให้เนียนเรียบ แล้วจึงลงสีใหม่ การทาสีย้อมไม้ปกติจะทา 2-3 ชั้น

บริเวณต่อมาคือระเบียงไม้ ชานบ้านในที่โล่ง หรืออยู่กลางแจ้ง แรกทีเดียวควรเลือกใช้ไม้ชนิดไม้เนื้อแข็งมาทำ เช่น ไม้แดง ไม้สัก หรือไม้เต็ง เพราะจะมีคุณสมบัติคือเนื้อแข็งไม่เป็นที่ชอบของ แมลงกินไม้ และควรทาสีย้อมไม้ด้วยเลย เพื่อให้ช่วยลดการดูดซับความชื้นและการสูญเสียความชื้นในเนื้อไม้ สีย้อมไม้ที่ขายกันอยู่จะใช้ดีกว่าเพราะทนทานกว่าพอลิยูรีเทน ซึ่งให้ความมันวาวสวยแต่ไม่ทนแดดได้เท่า การถนอมเนื้อไม้อีกอย่างคือในการทำพื้นหรือระแนงควรตีเว้นร่องพื้นระเบียงไม่ใช้ชิดกันติดเสียทีเดียว แต่ตีให้ห่างกันเล็กน้อย น้ำฝนและน้ำอื่นๆ จะได้ไหลลงด้านล่างได้สะดวก ไม่ขังเป็นแอ่งทำลายเนื้อไม้ การดูแลรักษาที่ดีคือให้ขัดผิวและทาสีย้อมพื้นระแนงไม้ หรืออาจจะเป็น สีย้อมไม้สำหรับทาไม้นอกบ้าน โดยควรทาใหม่ ทุก 3 ปี จะช่วยยืดอายุการใช้งานได้

บริเวณสุดท้ายคือไม้ภายในบ้านและบันได ปัญหาที่พบไม่ใช่ความซีดหรือผุ แต่มักจะมีรอยขีดข่วนจากการใช้งานมากกว่า ให้ใช้น้ำยาเคลือบผิวชที่เป็นนิดฟิล์มทาเคลื่อบลงไป ช่วยให้เช็ดถูง่ายและมันวาวสวย หรือจะเลือกแบบด้านก็ได้ เพียงแค่ทาน้ำยาป้องกันแมลงกินไม้ให้ทั่วๆ ต่อด้วยการเคลือบด้วยพอลิยูรีเทน เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ใช้งานได้นานและดูแลง่ายแล้ว

แนะนำเครื่องมือในการใช้ในการแกะสลัก

การแกะสลักไม้ถือเป็นการทำงานที่ต้องใช้ศิลปะ ต้องการความละเอียดอ่อนและความชำนาญ รวมถึงฝีมือของช่างแกะสลักจึงจะได้ผลงานที่ออกมาสวยงาม วิจิตร และอีกองค์ประกอบที่จะทำให้ผลงานการแกะสลักไม้ออกมาได้ดีก็คือเครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลัก เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักไม้นั้นมีหลายอย่างได้แก่

1. ค้อนไม้

เป็นค้อนที่มีขนาดเล็กเหมาะมือ มักทำจากไม้ชิงชัน ไม้แดง เป็นไม้เนื้อแข็ง มีน้ำหนักค่อนข้างเบาเพื่อไม่ให้กินแรงของผู้ใช้ หัวของค้อนมีลักษณะเป็นตะลุมพุก เป็นค้อนที่ไม่ทำให้สิ่วที่ใช้ร่วมกันสึกกร่อนง่าย

2. สิ่ว

เป็นวัสดุที่ทำจากเหล็กกล้าทนทานและต้องลับให้มีความคมอยู่เสมอ มีด้วยกันหลายชนิดและแต่ละชนิดใช้งานในการแกะสลักต่างกัน ได้แก่ สิ่วขมวด สิ่วฉาก สิ่วขุด สิ่วเล็บมือ

3. มีดแกะสลัก

เป็นมีดที่มีขนาดเล็กและมีปลายแหลมใช้สำหรับแกะสลักรายละเอียดและใช้เซาะร่อง

4. เลื่อยไม้

ในขั้นตอนการแกะสลักจำเป็นจะต้องใช้เลื่อยที่ใช้สำหรับเลื่อยไม้โดยเฉพาะไว้สำหรับเลื่อยส่วนต่างๆ ของชิ้นไม้ให้ได้โครงรูปตามที่ต้องการ

5. ตะไบหรือบุ้ง

หลังจากการแกะสลักแล้ว ช่างแกะสลักจะใช้ตะไบในการขัดถูเพื่อกำจัดส่วนเกินที่ไม่ต้องการ ทำให้งานคมชัดและสวยขึ้น

6. กระดาษทราย

ใช้สำหรับขั้นตอนท้าย ๆ ของงานแกะสลัก เพื่อขัดให้ชิ้นงานเกิดความเรียบร้อย

7. กบสำหรับไสไม้

ใช้ไสไม้ในส่วนต่างๆ เมื่อต้องการเหลาให้ไม้ได้รูป

8. สว่านเจาะไม้

ใช้สำหรับเจาะไม้ให้เป็นรูเกิดเป็นลายฉลุตามแบบที่ต้องการ

9. ปากกาจับชิ้นงานและแท่นสำหรับยึด

ในการสลักลายต้องมีอุปกรณ์สองชิ้นนี้ไว้ใช้สำหรับจับยึดชิ้นงานให้อยู่กับที่ เพื่อความสะดวกในการแกะสลักลวดวาย

10. เครื่องมือและเครื่องเขียนเบ็ดเตล็ด

เช่น กระดาษสำหรับเขียนแบบ ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด กระดาษสำหรับลอกลาย กระดาษแข็ง เป็นต้น

11. วัสดุตกแต่งและเคลือบผิว

ใช้สำหรับตกแต่งผิวของชิ้นงานไม้แกะสลัก ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเสร็จชิ้นงานทั้งหมด เช่น แลกเกอร์ ชแล็ก ดินสอพอง ทินเนอร์ น้ำมันสน และสีใช้ทาไม้สีต่างๆ

เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการแกะสลักนับว่าเป็นของคู่ใจของช่างแกะสลัก และสำคัญอย่างมากในการทำงานแกะสลักไม้ ดังนั้นจึงต้องการความใส่ใจในการเก็บรักษาและการดูแลอย่างถูกวิธี ควรทำความสะอาดหลังจากการใช้งานทุกครั้งและเก็บรักษาเข้าชุดตามเซ็ทของอุปกรณ์ นอกจากนั้นก็จะต้องสำรวจเสมอว่าอุปกรณ์หรือเครื่องมือเหล่านั้นอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อยู่เสมอ เช่นการลับสิ่งให้คม ปิดฝาวัสดุที่เป็นของเหลวและเก็บในอุณหภูมิที่สมควรด้วย

การดูแลและรักษางานไม้ ให้สวยงามไปอีกหลายปี

งานไม้ ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ ของประดับที่ทำด้วยไม้ ของใช้ต่างๆ ที่ทำจากไม้ ล้วนแล้วแต่เป็นของที่มีเสน่ห์ เป็นงานที่ช่างต้องใช้ความประณีตในการสร้างสรรค์งานออกมา และเมื่อมาอยู่ในความครอบครองของเราก็ย่อมต้องอยากให้คงทนและสวยงามใช้งานไปได้อีกตราบนานปี การรักษาและดูแลงานไม้ให้สวยงามไปนานๆ มีเคล็ดลับและวิธีการคือ

1. รอยขีดขูดหรือด่าง
เมื่องานไม้มีอายุนานวันเข้าก็มักจะเกิดรอยขูดขีดขึ้น ให้ใช้ผ้าสะอาด นำมายองเนสมาหยดลงไปบนผ้าแล้วถูลงบนไม้ที่เป็นรอยนั้น รอยด่างต่างๆ จะจางลง ถ้าเนื้อไม้มีรอยลึกเข้าไปเป็นรอยขีดข่วน ก็ให้ใช้ยาขัดรองเท้าที่มีสีใกล้เคียงกับตัวงานไม้ทาลงบนรอยจะทำให้รอยจางลงได้

2.การทำความสะอาด
การทำความสะอาดงานไม้ประจำวัน ให้ใช้ไม้ขนไก่มาเป็นอุปกรณ์ในการปัดฝุ่นออกก่อน จากนั้นให้ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดจนสะอาด แต่หากพบว่ามีคราบและร่องรอยเปื้อนมาก ก็ให้ใช้กระดาษทรายเบอร์ที่ละเอียดๆ มาขัดออก งานไม้ที่เป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น งานที่ทำจากหวาย หรือทำจากวัสดุไม้ยาง ไม่ควรขัดแรงๆ แต่ให้ใช้แปรง อ่อนๆ ปัดหรือไม้ขนไก่มาปัดฝุ่นออก จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำพอหมาดเช็ดออก อีกที ถ้ามีรอยด่างหรือเปื้อนมากควรใช้น้ำส้มสายชูผสมเข้ากับน้ำอุ่นเช็ดให้ทั่ว นำขี้ผึ้งมาขัดเป็นขั้นตอนสุดท้าย

3 .การป้องกันงานไม้เสียหาย
งานไม้อาจจะเสียหายได้จากแมลงจพวกมอด ปลวกกัดแทะ หรือถ้างานไม้ตั้งอยู่ในที่แดดส่งถึงหรือวางกลางแดดนานๆ ก็จะเสียหาย ซีด โก่งแตก ปริ ได้ง่าย เมื่อผ่านไปนานวัน วิธีดูแลรักษาก็คือ ให้ซื้อน้ำยาทาไม้กันปลวกมาทาเคลื่อบไว้ และใช้ยูริเทนมาทาเพื่อป้องกันสีไม้และผิวของงานไม้ การทาต้องเตรียมเนื้อไม้ให้พร้อมด้วยการทำความสะอาดด้วยผ้าชุบน้ำหมาด จากนั้นทิ้งไว้จนแห้งดีแล้วจึงทาน้ำยาลงไป ระหว่างที่น้ำยายังไม่แห้งดีอย่าเผลอไปแตะหรือดูอย่าให้มีฝุ่น หรือ ผงตกลงไปถูกเนื้อไม้จะทำให้เป็นรอยไม่สวย

4. ที่สำหรับวาง งานไม้
สถานที่ที่วางงานไม้ ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ ของตกแต่งหรืองานไม้ใดๆ ก็ตาม ไม่ควรวางในที่ที่อับหรือชื้น แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้หมั่นระบายอากาศในบริเวณนั้นบ่อยๆ เช่นเปิดหน้าต่าง ใช้พัดลมระบายหรือนำงานไม้ออกมาตากแดดบ้าง เพื่องานไม้จะไม่ชื้นจนเป็นราหรทอเสียหาย

อุปกรณ์สำหรับช่างไม้มีอะไรบ้าง

ช่างไม้ถือว่าเป็นอาชีพหนึ่งที่ค่อนข้างมีความสำคัญอย่างมาก ถือว่าเป็นอาชีพที่จำเป็นต้องใช้ความชำนาญและความเชี่ยวชาญค่อนข้างสูง รวมถึงต้องค่อนข้างมีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์สำหรับใช้ในงานไม้ด้วย ลองมาดูอุปกรณ์ของช่างไม้ว่ามีอุปกรณ์ประเภทใดบ้างที่ช่างไม้จำเป็นต้องเลือกนำมาใช้งาน

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับช่างไม้

  1. ตลับเมตร – อุปกรณ์อันดับต้นๆ ที่เราจะเห็นช่างไม้ทุกคนพกติดตัวตลอดเวลา เพราะนี่คืออุปกรณ์สำหรับการวัดขนาดต่างๆ เพื่อตัด ต่อ ประกอบ วัดความสูง ความยาว ความกว้าง ความหนา ปกติตลับเมตรก็จะมีหน่วยวัดเป็นเมตร ฟุต นิ้ว เซนติเมตร
  2. ฉากเหล็ก – อุปกรณ์สำหรับการวัดเพื่อขีดมุมฉาก ปกติก็คือจะทำการวางฉากลงบนตัวไม้ ขอบจะต้องแนบสนิทกับผิวในด้านเรียบ จากนั้นก็สามารถขีดเส้นได้ตามที่ต้องการ
  3. ขอขีดไม้ – เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ขีดเพื่อเอาไว้สำหรับทำการเลื่อย ผ่า หรือทำรูเดือย ไม้ให้ตรงตามที่วัดเอาไว้ จะมีส่วนหัว ตัวแขนยึดที่แน่นด้วยสลักหรือขอยึด ปลายข้างหนึ่งจะมีเข็มปลายแหลมหรือตัวสลักเมื่อเอาออกแล้วจะเอาไว้วัดระยะห่างจากบริเวณปลายเข็มกับตัวส่วนหัว
  4. เลื่อย – เป็นเลื่อยที่เราจะเห็นโดยทั่วไป มีที่จับอยู่ที่ปลายด้านหนึ่ง ส่วนฟันเลื่อยที่ใช้สำหรับการตัดจะทำจากเหล็กสปริง ขนาดบาง ปลายเรียว เอาไว้สำหรับการเลื่อยไม้โดยเฉพาะ
  5. กบไสไม้ – อีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญของเหล่าบรรดาช่างไม้ทั้งหลาย ใช้เพื่อขัดผิวไม้ให้เรียบ ไม่มีเสี้ยน หรือขัดเพื่อให้ได้ทรงไม้ตามที่ต้องการ
  6. สิ่วแต่งไม้ – มีเอาไว้สำหรับการขูดผิวไม้หรือปากไม้ให้เรียบขึ้น ปกติแล้วด้ามจับจะเป็นยางหรือพลาสติก ส่วนตัวก้านที่เอาไว้ใช้ขูดจะทำจากเหล็กกล้า หัวแบน ซึ่งสิ่วบางตัวมีความคมค่อนข้างมาก
  7. สิ่วเจาะ – มีเอาไว้สำหรับการเจาะรูเดือย จะมีความหนา ทว่าความคมกับความกว้างจะน้อยกว่าสิ่วแต่งไม้ เวลาใช้งานจึงจำเป็นต้องใช้ค้อนช่วยทุบให้แซะเข้าเนื้อไม้ได้ดี
  8. สว่านข้อเสือ – ใช้สำหรับการเจาะรูเพื่อใส่น๊อตหรือสกรู เวลาใช้ต้องใส่ดอกสว่านที่จะมีหลายชนาดหลายลักษณะตามแต่ความต้องการสำหรับใช้งาน
  9. ค้อน – เป็นอีกอุปกรณ์ที่เห็นหน้าค่าตากันบ่อยมาก ใช้สำหรับการตีหรือทุบอุปกรณ์ต่างๆ ให้เป็นไปตามที่ต้องการ อาทิ ตะปู ดอกสว่าน เป็นต้น
  10. เลื่อยฉลุ – เป็นเลื่อยขนาดเล็ก ตัวโครงจะเป็นโลหะมีใบเลื่อยขนาดเล็ก ส่วนมากจะเลือกใช้กับไม้ที่มีขนาดบางและไม่สามารถใช้เลื่อยปกติได้เนื่องจากว่ามันจะทำให้ไม้หัก ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่งานตกแต่งมากกว่างานที่ต้องใช้พละกำลังเพื่อตัดให้ไม้ขาดออกจากกัน

สร้างบ้านทั้งหลังด้วยไม้ชนิดใดดี

การสร้างบ้านไม้ถือว่าเป็นสิ่งที่คนไทยยังคงให้ความนิยมกันอยู่อย่างไม่ลดน้อยลงไปสักเท่าไหร่นัก ด้วยความที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสภาพอากาศค่อนข้างร้อน การอยู่บ้านปูนหากไม่มีเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมเยอะๆ ก็อาจทำให้สภาพอากาศภายในบ้านร้อนเป็นอย่างมาก แต่การสร้างบ้านทั้งหลังด้วยบ้านไม้ลมสามารถพัดเข้ามาได้ดีกว่า ทำให้อากาศค่อนข้างผ่อนคลายเย็นสบายมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด

ไม้ที่นิยมนำมาสร้างบ้านทั้งหลัง

จริงๆ แล้วต้องบอกว่าไม้ที่สามารถนำมาทำเป็นบ้านทั้งหลังได้ก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ ในการเลือกใช้งานไม้เหล่านั้นว่าต้องการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นหลัก โดยไม้แต่ละประเภทแน่นอนว่าย่อมมีคุณสมบัติที่เป็นข้อดีแตกต่างกันออกไป ลองมาดูไม้ที่คนส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ในการสร้างเป็นบ้านทั้งหลังว่านิยมเลือกใช้ไม้ชนิดใดกันบ้าง

  1. ไม้เนื้อแข็ง – ที่คือไม้ที่เรียกว่าน่าจะได้รับความนิยมมากที่สุดในการนำมาสร้างเป็นบ้านทั้งหลังเลยก็ว่าได้ ด้วยเหตุผลประการหลักของการเลือกใช้ไม้เนื้อแข็งในการสร้างบ้านก็คือมีความคงทนแข็งแรงสูงมากๆ ทำให้จะปลูกเป็นบ้านชั้นเดียวหรือบ้านสองชั้นก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับการนำไม้เนื้อแข็งมาเป็นวัสดุหลัก ทำให้คนที่เข้ามาอยู่อาศัยค่อนข้างมีความอุ่นใจถึงความแข็งแรงภายในบ้าน มีความปลอดภัยต่อสภาพดินฟ้าอากาศสูง นิยมจะนำมาใช้ในการวางโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน อาทิ เสา คาน การปูพื้น หรือแม้แต่เพดานบ้าน ซึ่งไม้เนื้อแข็งส่วนใหญ่ที่นิยมนำมาใช้งานก็เช่น ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ตะแบก ไม้ตะเคียนทองง ไม้แดง ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายไม้ทั่วไป หากเป็นสมัยก่อนอาจใช้ไม้สักด้วยแต่ปัจจุบันถือว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
  2. ไม้เนื้อแข็งปานกลาง – หากว่ามีไม้เนื้อแข็งที่เรารู้จักกันโดยทั่วไปอย่างที่กล่าวไว้แล้ว ไม้เนื้อแข็งปานกลางก็เป็นไม้อีกชนิดที่นิยมนำมาใช้สร้างบ้านทั้งหลังไม่แตกต่างกัน คือที่บอกว่าเป็นไม้เนื้อแข็งปานกลางก็เพราะความแข็งแรงอาจไม่เท่ากับไม้เนื้อแข็งแต่ก็ไม่ได้อ่อนจนเป็นไม้เนื้ออ่อน เรียกว่าเป็นไม้ที่มีความแข็งในลักษณะที่กำลังพอเหมาะพอควร มีราคาถูกกว่าไม้เนื้อแข็ง ความทนทานก็สามารถสร้างบ้านเป็นหลังได้อย่างสบายๆ ที่สำคัญทำให้บ้านดูมีความคลาสสิกจากสีไม้ที่จะแตกต่างจากไม้ประเภทอื่นค่อนข้างชัดเจน ความรู้สึกของการได้อยู่ในบ้านแบบนี้ทำให้คล้ายกับอยู่ติดกับธรรมชาติอันร่มรื่น ไม้เนื้อแข็งปานกลางที่นิยมใช้ในบ้านเรา อาทิ ไม้นนทรี ไม้ชุมแพรก ไม้กระบาก เป็นต้น

วิธีการทำชุดโต๊ะกินข้าวไม้โอ๊ค

ชุดโต๊ะกินข้าวถือว่าเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่แทบทุกบ้านจะต้องมีเอาไว้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยความที่นี่เป็นพื้นที่สำหรับการทานอาหารภายในบ้านรวมถึงยังเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ทำให้ห้องครัวหรือห้องทานอาหารดูสมบูรณ์แบบอีกด้วย ถึงกระนั้นสำหรับบางคนการเลือกซื้อชุดโต๊ะกินข้าวอาจดูมีราคาแพงเกินไป การที่เป็นคนมีฝีมือทางด้านช่างหรือต้องการลองทำเองด้วยวัสดุสุดหรูอย่างไม้โอ๊คก็ไม่ได้มีวิธีการทำที่ยากเย็นอะไรมากเลย

วิธีการทำชุดโต๊ะกินข้าจากไม้โอ๊คพร้อมอุปกรณ์

  1. ทำการศึกษารูปแบบของโต๊ะที่เราต้องการจะทำ ซึ่งปกติแล้วก็จะประกอบไปด้วยโต๊ะ 1 ตัว เก้าอี้ 4 ตัว เป็นพื้นฐานของโต๊ะกินข้าว
  2. เลือกซื้อเลือกหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เราต้องการจะใช้เน้นหนักไปที่การซื้อไม้โอ๊ค, กบไสไม้, ค้อน, สว่านไฟฟ้า, ตะปูเกลียว และอื่นๆ ตามแต่ว่าจะเลือกซื้อมาใช้งาน
  3. เริ่มต้นการทำง่ายๆ ด้วยการแยกประเภทการทำที่ก่อนระหว่างโต๊ะกับเก้าอี้ โดยโต๊ะให้แยกการทำเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนขาโต๊ะและส่วนพื้นโต๊ะด้านบน โดยพื้นโต๊ะด้านบนทำการเลื่อยให้มีขนาดพอดีกับที่ต้องการต่อมาให้ไสให้เรียบด้วยกบไสไม้ จากนั้นก็เตรียมขาโต๊ะทั้ง 4 ข้าง ด้วยการเลื่อยออกให้มีขนาดสูงพอดีกับที่ต้องการ ตามด้วยการยิงสกรูเพื่อให้สามารถใส่ตะปูเกลียวลงไปได้ เมื่อยิงสกรูจนเป็นรูสำหรับใส่ตะปูเกลียวก็ให้เอาสว่านไฟฟ้าเจาะเข้าหัวด้านหนึ่งเข้ากับตะปูเกลียวแล้วยิงไปในจุดที่จะต่อกับขาโต๊ะทั้ง 4 ข้าง
  4. ส่วนขั้นตอนการทำเก้าอี้จะมีความยุ่งยากนิดหน่อยตรงที่เริ่มแรกต้องมีการตัดไม้ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการโดยแบ่งเป็นช่วงขาโต๊ะ 6 ชิ้น 2 ชิ้นแรกเป็นขาหน้ามีขนาดกำลังเหมาะสม 2 ชิ้นต่อมาเป็นขาหลังพร้อมตัดให้ยาวจนถึงพนักพิงโดยส่วนนี้อาจมีการไสไม้ให้เฉียงออกเล็กน้อยช่วงบนเพื่อให้มีระดับพนักพิงนิดหน่อย ส่วนอีก 2 ชิ้นเป็นขายึดตรงกลาง ส่วนต่อมาก็คือเบาะนั่งโดยตัดไม้ให้มีขนาดเท่ากับขายึดด้านล่าง 4 ชิ้น จากนั้นก็ตัดไม้เป็นแผ่นให้มีขนาดพอดีกับเบาะหนัง ตัดแผ่นไม้เป็นพนักพิง เมื่อตัดเสร็จหมดเรียบร้อยให้เอาน๊อต หรือตะปูเกลียวเจาะยึดกันเหมือนกับตอนทำโต๊ะตรงจุดต่างๆ โดยทำเหมือนกันทั้ง 4 ตัวก็จะได้เก้าอี้สำหรับชุดโต๊ะกินข้าวแล้ว
  5. สำหรับบางคนอาจเลือกทาน้ำยาเคลือบไม้หรือทาสีอีกรอบเพื่อเพิ่มความสวยงาม เพื่อยืดอายุการใช้งาน หรือเพื่อป้องกันเสี้ยนไม้ต่างๆ ก็แล้วแต่ว่าจะทำอย่างไรต่อตรงจุดนี้ตามแต่ความต้องการของแต่ละบุคคล

ช่างไม้ญี่ปุ่นในตำนาน

แม้คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะมีความไฮเทคมากไหน พวกเค้าก็ยังไม่ทอดทิ้งภูมิปัญญาระดับตำนาน

ช่างไม้ญี่ปุ่นเป็นช่างไม้ที่ขึ้นชื่อในด้านฝีมือและเทคนิคระดับสูง ในวงการวิศวกรรมการก่อสร้างจะมีเทคโนโลยีล้ำๆ ในการดำเนินงานได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ช่างไม้ระดับตำนานเหล่านี้ก็ยังไม่ทอดทิ้ง เคล็ดลับความรู้ต่างๆของบรรพบุรุษ ในการเชื่อมไม้โดยไม่ใช้ตะปูสักดอกเดียว เป็นวิถีระดับตำนานที่คนญี่ปุ่นให้ความนับถือ หากจะสร้างบ้านไม้สักหลัง ต้องเลือกวิธีนี้ เพราะมันคือวิถีแห่งตำนาน ตำรับดั้งเดิมของแท้ นี่คือ วิถีช่างไม้ญี่ปุ่นในตำนานที่สืบทอดมายาวนานกว่า 100 ปี เรียกได้ว่าเป็นความคลาสสิกอย่างแท้จริง