รู้คุณสมบัติของไม้ก่อนจะเอาไปใช้

ประเภทของไม้จะเป็นตัวกำหนดว่า “ความสวยงาม” และ “ความทนทาน” ของชิ้นงานที่เราจะทำ นั่นหมายความว่าเราจำต้องมีความรู้ในการเลือกไม้ก่อนถึงจะได้ผลงานที่ดีได้ เนื่องจากไม้แต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปซึ่งในไม้ชนิดเดียวก็อาจมีความแข็งแกร่งไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการตัดไม้ที่นำมาใช้ที่แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักได้แก่ Plan, Quarter Swan และ Rift Swan ในไม้เนื้อแข็งส่วนใหญ่จะเป็นการตัดแบบ Plain หรือ Quarter sawn สำหรับไม้เนื้ออ่อนที่ใช้ในการก่อสร้างทั่วไปจะตัดแบบ Rift sawn ในโรงเลื่อยที่ทันสมัยจะมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการคำนวณเครื่องเลื่อยไม้เนื้ออ่อน มันจะถูกประมวลผลในหลายๆ วิธีเพื่อเพิ่มผลผลิตสูงสุด

ประเภทของไม้ที่นิยม

1.ไม้สน

เป็นไม้ที่ได้จากป่าที่มีความหนาแน่นสูง มียางเยอะ เหมาะกับการนำมาใช้งานเพราะพันธุ์ส่วนใหญ่จะค่อนข้างอ่อน ไม้สนนิยมนำมาใช้ทำในเฟอร์นิเจอร์เพราะง่ายต่อการประกอบ รวมถึงในขั้นตอนทำสี (ต้องรองพื้นด้วยวูดซีลเลอร์) มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มช่างไม้สำหรับนำไปทำ กรอบหน้าต่าง กรุพื้น หลังคา

2.ไม้ซีดาร์

ชนิดที่พบมากที่สุดของต้นซีดาร์เป็นพันธุ์สีแดงตะวันตก เป็นไม้โทนสีแดงที่ค่อนข้างอ่อน ลำต้นจะตั้งตรงแถมยังมีกลิ่นหอมมากที่สุดอีกด้วย จึงไม่แปลกที่จะเห็นมันถูกนำมาใช้ทำเป็น ตู้เสื้อผ้า ไม้แขวนเสื้อ หรือ ลิ้นชัก มีคุณสมบัติในการป้องกันความชื้นดีเยี่ยม เหมาะกับนำไปใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ระเบียง ตัวอาคาร

3.ไม้เฟอร์

มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า “ดักลาสเฟอร์” เป็นไม้ตรงที่มีโทนสีน้ำตาลมักถูกนำไปใช้สำหรับการก่อสร้างบ้าน เนื่องจากเป็นไม้ที่มีราคาแพงจึงถูกนำไปใช้ทำเฟอร์นิเจอร์อีกด้วย แต่ข้อเสียอย่างหนึ่งคือมันไม่ค่อยดูดซึมสี ดังนั้นช่างส่วนใหญ่จะปล่อยเป็นงานดิบ ถือว่าเป็นไม้ที่มีความแข็งแรงปานกลาง มีความแข็งเมื่อเทียบกับไม้เนื้ออ่อน

4.ไม้เนื้อแข็ง

ถือว่าเป็นไม้ขวัญในของช่างทั้งหลายที่ต่างก็เลือกใช้มาทำงานกันทั้งสิ้น เนื่องจากมันมีสีและลายไม้ที่สวยงาม เหมาะสำหรับนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์โชว์ลายไม้ ข้อเสียของไม้เนื้อแข็งคือราคาของมันแพงสุดๆ บางสายพันธุ์ที่แปลกๆ บางตัวอาจแพงเกินกว่าจะนำมาใช้กับอะไรได้ นอกจากเครื่องไม้ประดับมุก

5.โอ๊ก

บนโลกของเรามีต้นโอ๊กกว่า 200 สายพันธุ์ หนึ่งในสายพันธุ์ที่ดีสุดคือต้นโอ๊กอังกฤษที่ถูกใช้งานมานานกว่า 1,000 ปี เนื่องจากมันเป็นไม้ที่แข็งสามารถนำมาใช้งานได้หลากหลาย ทนต่อความชื้น ทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ แถมยังป้องกันโจมตีของแมลง เชื้อรา เนื่องจากมีสารประกอบของแทนนินสูง ในอดีตมันเคยถูกใช้ประกอบเรือไวกิ้งในช่วง ในศตวรรษที่ 9 – 10 ที่ใช้สำหรับเดินทางข้ามมหาสมุทรในช่วงยุคแรกๆ

สร้างบ้าน ไม้สัก ควรต้องรู้อะไรบ้าง

บ้านไม้สัก เป็นบ้านไม้ทรงไทยที่สวยงามสะดุดตาหลายๆ คน เป็นเอกลักษณ์บ้านไม้ที่ยากจะหาบ้านไม้ประเภทอื่นมาเทียบ บ้านไม้สักจึงเป็นบ้านในฝันที่อยากจะปลูกไว้สักหลัง เพราะมีความงามและความคงทน แต่บ้านไม้สักมีข้อดีข้อเสีย ดังนั้นก่อนจะปลูกควรต้องรู้จักเนื้อไม้ ลักษณะการใช้งาน การดูแลไว้ก่อน

รู้จักไม้สักก่อนดีกว่า

ไม้สักเป็นจัดอยู่ในกลุ่มประเภทไม้เนื้ออ่อน เป็นไม้ตรงมีเนื้อละเอียดสวยงาม เห็นวงปีชัดเจน เนื้อไม้แข็งแรงปานกลาง ทนทาน ขัดเงาได้ดี ไม้บิดงอโก่งตัวยากกว่าไม้อื่น ไม้สักที่ดีจึงใช้ระยะเติบโตนาน ยิ่งมีอายุมากยิ่งผลิตน้ำมันธรรมชาติได้ดี เรียกน้ำมันชนิดนี้ว่า “สารเทคโทควิโนน” จึงมีกลิ่นเฉพาะตัวที่ปลวกไม่ชอบ แต่ถ้าหากไม้สักเติบโตเร็วจะไม่มีน้ำมันเกิดขึ้นปลวกจึงเลือกกินไม้สักได้เช่นกัน แต่มีวิธีจัดการปลวกได้หากนำไม้สักไปปลูก คือการอาบน้ำยากันปลวกเพื่อป้องกันปลวกมาทำรังกัดกินไม้สัก แต่ปัจจุบันพบไม้สักน้อยลง หายาก จึงมีราคาแพง ไม้สักที่ดีที่สุดและแพงที่สุดคือ ไม้สักทอง

ปัจจุบันนิยมนำไม้สักเป็นไม้ตกแต่งภายใน

แม้ว่าจะทนต่อการผุกร่อนได้ดีเยี่ยม แต่ว่าไม่ค่อยทนแดดจัด ช่างไม้จึงแนะนำว่าควรนำไม้สักเป็นไม้ตกแต่งภายในบ้าน เช่น วงกบ บานประตู หน้าต่าง รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ หรือนำไปใช้เป็นส่วนโครงสร้างรับน้ำหนักตัวบ้าน จึงนิยมนำเนื้อไม้สักไปรวมกับไม้เนื้ออื่นเพื่อเพิ่มความสวยงามประณีตวิจิตรตระการตาให้กับบ้าน นำไม้สักแกะสลักต่อเติมบ้านเพิ่มความโดดเด่น

ปัจจัยที่มีผลต่อบ้านไม้สัก

บ้านไม้เป็นบ้านที่ปลูกยากกว่าปูน แต่ข้อดีของบ้านไม้สักคือระบายความร้อนได้ดี ไม่อบอ้าว จึงเหมาะกับประเทศไทยที่มีอุณหภูมิร้อน หากเกิดแผ่นดินไหวบ้านไม้จะมีความยืดหยุ่นได้ดีกว่าบ้านปูน แต่ทั้งนี้ต้องดูแลรักษาบ้านไม้ด้วย

  1. บ้านไม้ที่มีอายุนานจะมีการยืด-หดตามสภาพอากาศ อาจเกิดปัญหาการรั่วซึมระหว่างช่องไม้ได้ จึงควรตรวจสอบอย่างละเอียด ทำระบบกันรั่วซึม ทาน้ำยากันรั่วซึมไม่ให้เกิดปัญหาตามมา
  2. บ้านไม้มักมีเสียงดังได้เวลาเดิน
  3. มีปัญหาปลวกแมลงมากัดกินไม้ จึงต้องทาสีกันแมลงเพื่อป้องกันการผุกร่อนของเนื้อไม้
  4. ช่างฝีมือที่มีความชำนาญด้านงานไม้หายาก และราคาวัสดุ ราคาก่อสร้างแพงกว่าบ้านปูนหลายเท่า
  5. ในส่วนของพื้นที่ระเบียง บันไดที่เสี่ยงโดนฝนเป็นประจำ ต้องทาสีน้ำมันหรือสีพลาสติก เพื่อกันความชื้นไม่ให้น้ำซึมลงเนื้อไม้ เสี่ยงไม้ผุพังได้ในอนาคต

เทคนิคการเข้าไม้สไตล์ญี่ปุ่นที่ไม่เหมือนใคร

ประเทศญี่ปุ่นจัดว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มียอดฝีมือด้านงานช่างเยอะมาก เอาแค่งานศิลปะของพวกเค้าก็ถือว่าไม่เป็นสองรองใครแล้วเหมือนกัน ด้านงานไม้ ประเทศญี่ปุ่นก็มีช่างไม้ฝีมือระดับเทพ อยู่มากมาย พวกเค้าต่างสร้างและสะสมองค์ความรู้เกี่ยวกับงานไม้มาอย่างยาวนาน ล่าสุดได้มีการรวบรวมเทคนิคการเข้าไม้ (การประกบไม้) สไตล์ญี่ปุ่นมารวบรวมไว้ ซึ่งแต่ละแบบนั้นต้องยอมรับเลยว่า สุดยอดจริงๆ

เทคนิคเข้าไม้แบบท่อนเดียว

เทคนิคแรกถือว่าน่าสนใจมาก นั่นคือการประกบไม้สองท่อนให้กลายเป็นท่อนเดียวกัน ส่วนใหญ่เวลาเราบากไม้เพื่อประกบกันนั้นมันจะสามารถเข้าได้เพียงแค่ด้านเดียวเท่านั้น แต่เทคนิคเข้าไม้ของญี่ปุ่นล้ำกว่านั้น เค้าบากไม้เป็นรูปคล้ายกับดอกไม้ที่มีความลึกและลวดลายอันซับซ้อน อาจจะดูเหมือนไม่มีอะไรแต่พอจะเข้าประกบไม้ รอยบากนี้จะสามารถทำให้เราเข้าประกบไม้ได้ทุกทิศทางเลยทั้งแนวตั้ง แนวนอน พลิกด้านหน้าด้านหลังทำได้หมด

การเข้าไม้รูปตัว L

อีกหนึ่งวิธีผู้เขียนมองว่ามันเจ๋งมาก นั่นคือการเข้าไม้เป็นรูปตัว L คล้ายกับการเข้าไปมุมฉาก โดยปกติเราเข้าไม้แบบนี้ก็จะเอามาติดกันเป็นมุมฉากแล้วตอกตะปู แต่ญี่ปุ่นล้ำกว่านั้น พวกเค้าจะฉลุลายเป็นร่องด้านหนึ่ง ไม้อีกแผ่นหนึ่งก็จะฉลุเป็นตัวเสียบ ไล่ตั้งแต่บนลงล่าง เว้นระยะให้เท่านั้น จากนั้นพอเข้าไม้ก็เสียบรอยฉลุนั้นลงไปเพียงเท่านั้นก็เข้าไม้ได้สนิท แน่น แบบไม่ต้องตอกตะปูด้วยซ้ำ การฉลุอาจจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมช่องเล็กก็ได้

การเข้าไม้ท่อนเป็นรูป ตัว L

อีกหนึ่งวิธีต่อเนื่องจากการเข้าไม้เป็นรูปตัว L นั่นคือหากไม้ที่เราจะเข้านั้นเป็นไม้ท่อน วิธีการของเค้าจะแปลกจากบ้านเราสักหน่อย หากเป็นบ้านเราจะเข้าไม้ท่อนแบบนี้จะบากตรงปลายไม้ให้เป็นแนวเฉียงรับกับอีกท่อนหนึ่งที่เฉียงเข้าหากัน แต่ของญี่ปุ่นเค้ามีเทคนิคซ้อนขึ้นอีกหนึ่งขั้น คือ พวกเค้าจะแกะสลักไม้เป็นร่อง แล้วก็นำไม้มาเสียบไว้ในร่องนั้น ให้ไม้ทำหน้าที่เป็นตัวขัดให้การเข้าไม่ติดกันมากขึ้น

การเข้าไม้ติดกระดูก

อีกหนึ่งเทคนิคเราขอตั้งชื่อว่า การเข้าไม้ติดกระดูก วิธีการก็คือ เราหั่นไม้ออกเป็นสองท่อน จากนั้นให้เกลาปลายไม้ให้เกลี้ยงเพื่อเข้าประกบกันธรรมดา แต่ไม่ธรรมดา ตรงที่จะมีการเซาะร่องไม้ทั้งสองข้างเป็นรูปกระดูกหมา จากนั้นเวลาประกอบก็เอาไม้ที่เป็นทรงกระดูกหมามาวางไว้ตรงร่องที่แกะสลักไว้อีกที เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวล็อคธรรมชาติให้ไม้เข้ากันสนิท จะเห็นว่าการเข้าไม้ของญี่ปุ่นนั้นมีความแตกต่าง ลุ่มลึกกว่าของบ้านเราพอสมควรเลยทีเดียว ลองไปหาศึกษาเพิ่มเติมกันได้

การแกะสลักไม้ควรเลือกใช้ไม้แบบไหน

การแกะสลักไม้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิชาชีพช่างที่ต้องบอกว่าหากทำได้อย่างชำนาญแล้ว หาตัวจับยากมาก เนื่องจากมีงานเข้ามาตลอดเวลา การทำงานแกะสลักไม้นั้นช่างจะต้องเป็นคนที่ใจเย็นพอสมควรเลยทีเดียว เนื้อไม้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในการแกะสลักไม้ หากจะแกะสลักไม้เราควรเลือกใช้ไม้แบบไหนบ้าง เรามีตัวอย่างมาแนะนำ

ไม้สัก ดีที่สุด

หากเลือกได้ จะแกะสลักไม้ทั้งที ไม้แบบไหนดีที่สุด ตอบแบบไม้ต้องคิดเลยนั่นคือ ไม้สักอย่างแน่นอน (ควรมีอายุเกิน 10 ปีขึ้นไปด้วย) ที่เป็นอย่างนั้นเพราะว่าไม้สักมีการสร้างน้ำยางออกมาเองได้ น้ำยางตัวนี้สัตว์ที่ชอบกินเนื้อไม้อย่างปลวก มด ไม่ชอบเอาเสียเลย นั่นทำให้เฟอร์นิเจอร์ไม้สักจะไม้เจอปลวกกินแน่นอน ไม่เพียงเท่านั้นการตัดแต่ง เลื่อย ขัด ก็ทำได้ง่ายกว่าไม้ชนิดอื่นทำให้งานแกะสลักของเรานั้นไม่หนักมากเกินไป

ไม้เต็ง รับน้ำหนักได้ดี

แต่ถ้าการใช้ไม้สัก อาจจะแพงเกินไปและหายาก ลองปรับระดับลงมาไม้ชนิดอื่นบ้าง อย่างไม้เต็ง ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดี เนื่องจากว่า ไม้เต็ง จะเป็นไม้มีความทนทานมาก ทั้งทน อึด ถึก ต่อสภาพอากาศ ไม้เต็งสามารถรองรับน้ำหนักได้ดี จึงนำไปสร้างเป็นโครงสร้างอย่าง เสา คาน มากกว่าสวนการแกะสลักก็ทำได้ไม่ยากเท่าไร ข้อสำคัญเวลามันแตกจะเป็นลายงาขึ้นมาอาจจะทำให้งานแกะสลักไม่สวยไปด้วย

ไม้ยางพารา ใช้ยากแต่ใช้ดี

ไม้อีกแบบหนึ่งที่ต้องบอกก่อนว่าใช้ค่อนข้างยาก แต่ใช้แล้วก็ออกมาดีเหมือนกัน นั่นคือไม้ยางพารา ไม้ยางพาราเกิดจากการนำไม้ที่รีดน้ำยางออกหมดแล้วมาอบอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ไม้แข็งขึ้นและใช้งานได้ เนื้อไม้จะมีลายสีขาวนวลชมพู ข้อเสียลายไม้ไม่ค่อยชัดเจนสักเท่าไร ด้านความทนทานก็พอรับได้ แนะนำว่าแกะสลักสำหรับเครื่องประดับบ้าน ดีกว่าแกะสลักเพื่อเป็นเครื่องใช้จะดีกว่า

ไม้ประดู่ สีแดงทนทาน

ไม้อีกชนิดหนึ่งเราน่าจะได้เห็นกันบ่อยนั่นคือ ไม้ประดู่ ไม้แบบนี้จะมีจุดเด่นเรื่องของสีแดง ไม้แบบนี้จะมีสีแดงอมเหลือง เหมือนสีแดงอิฐ ตัวลายไม้เข้มข้นชัดเจน หากต้องการงานแกะสลักเพื่อโชว์ลายไม้ ไม้ประดู่ นับว่าตอบโจทย์ได้ดีเหมือนกัน ยิ่งพวกเครื่องเรือนแบบจีนที่ชอบโชว์เนื้อไม้ สีแดงนี่ถือว่าเข้ากันเลย ยิ่งปุ่มของลายไม้หากแกะสลักสวยๆ แล้วยิ่งทำให้งานไม้นั้นโดดเด่นมากขึ้นไปอีกเยอะเลย ใครชอบงานไม้แบบไหนลองเข้าไปศึกษากันได้

วิธีดูแลรักษาบ้านไม้ให้สวยงามตลอดเวลา

ในการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยตั้งแต่สมัยโบราณมา ไม้ คือวัสดุที่สำคัญที่คนเรานำมาสร้างบ้าน โดยเฉพาะบ้านในภูมิภาคเขตร้อนอย่างบ้านเรา การใช้ไม้เป็นวัสดุในการสร้างบ้านนับว่าเป็นภูมิปัญญาและเป็นความเหมาะสมสำหรับสภาพภูมิอากาศอย่างยิ่ง แต่ด้วยธรรมชาติแท้จริงของไม้ ที่มักมีความซีดหรือกร่อนไปตามกาลเวลาทำให้เราจำเป็นจะต้องดูแลรักษาเนื้อไม้ให้สวยงามตลอดเวลา อีกทั้งการดูแลที่ดียังช่วยยืดอายุการใช้งานของไม้ได้ด้วย ใครที่มีบ้านไม้ก็ควรดูแลรักษาเนื้อไม้ไว้ให้คงทนสวยงามด้วยวิธีการดังนี้

เริ่มจาก โครงสร้างไม้ภายนอกบ้านเช่นประตูและหน้าต่าง ระแนงบ้าน พื้นชานเรือนปกป้องผิวไม้จากความชื้นที่อาจเกิดได้ตลอดเวลา และปกป้องจากแสงแดดด้วยวิธีการทาสีน้ำมัน หรือเลือกเป็นทาสีน้ำพลาสติกที่ผลิตสำหรับงานไม้โดยเฉพาะ อีกวิธีคือใช้สีย้อมไม้ ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้เมื่อทาแล้วซึมเข้าเนื้อไม้ โดยตรง ทำให้ลายไม้ชัดๆ ดูสวย มีความทนทานากกว่าการทาด้วยน้ำยาเคลือบผิวแบบฟิล์มใส อย่าง พอลิยูรีเทนหรือแล็ก จากนั้นต้องมีการใช้น้ำยาป้องกันแมลงกัดกินไม้ ด้วย ขั้นตอนในการดูแลไม้นอกบ้านทั้งที่อยู่ในที่ร่มและกลางแจ้ง ถ้าใช้ไปนานๆ เกิดการลอกร่อนหรือโก่ง ให้ใช้วิธีขัดสีเดิมออกให้ลึกถึงเนื้อไม้ จากนั้นไสผิวให้เนียนเรียบ แล้วจึงลงสีใหม่ การทาสีย้อมไม้ปกติจะทา 2-3 ชั้น

บริเวณต่อมาคือระเบียงไม้ ชานบ้านในที่โล่ง หรืออยู่กลางแจ้ง แรกทีเดียวควรเลือกใช้ไม้ชนิดไม้เนื้อแข็งมาทำ เช่น ไม้แดง ไม้สัก หรือไม้เต็ง เพราะจะมีคุณสมบัติคือเนื้อแข็งไม่เป็นที่ชอบของ แมลงกินไม้ และควรทาสีย้อมไม้ด้วยเลย เพื่อให้ช่วยลดการดูดซับความชื้นและการสูญเสียความชื้นในเนื้อไม้ สีย้อมไม้ที่ขายกันอยู่จะใช้ดีกว่าเพราะทนทานกว่าพอลิยูรีเทน ซึ่งให้ความมันวาวสวยแต่ไม่ทนแดดได้เท่า การถนอมเนื้อไม้อีกอย่างคือในการทำพื้นหรือระแนงควรตีเว้นร่องพื้นระเบียงไม่ใช้ชิดกันติดเสียทีเดียว แต่ตีให้ห่างกันเล็กน้อย น้ำฝนและน้ำอื่นๆ จะได้ไหลลงด้านล่างได้สะดวก ไม่ขังเป็นแอ่งทำลายเนื้อไม้ การดูแลรักษาที่ดีคือให้ขัดผิวและทาสีย้อมพื้นระแนงไม้ หรืออาจจะเป็น สีย้อมไม้สำหรับทาไม้นอกบ้าน โดยควรทาใหม่ ทุก 3 ปี จะช่วยยืดอายุการใช้งานได้

บริเวณสุดท้ายคือไม้ภายในบ้านและบันได ปัญหาที่พบไม่ใช่ความซีดหรือผุ แต่มักจะมีรอยขีดข่วนจากการใช้งานมากกว่า ให้ใช้น้ำยาเคลือบผิวชที่เป็นนิดฟิล์มทาเคลื่อบลงไป ช่วยให้เช็ดถูง่ายและมันวาวสวย หรือจะเลือกแบบด้านก็ได้ เพียงแค่ทาน้ำยาป้องกันแมลงกินไม้ให้ทั่วๆ ต่อด้วยการเคลือบด้วยพอลิยูรีเทน เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ใช้งานได้นานและดูแลง่ายแล้ว

แนะนำเครื่องมือในการใช้ในการแกะสลัก

การแกะสลักไม้ถือเป็นการทำงานที่ต้องใช้ศิลปะ ต้องการความละเอียดอ่อนและความชำนาญ รวมถึงฝีมือของช่างแกะสลักจึงจะได้ผลงานที่ออกมาสวยงาม วิจิตร และอีกองค์ประกอบที่จะทำให้ผลงานการแกะสลักไม้ออกมาได้ดีก็คือเครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลัก เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักไม้นั้นมีหลายอย่างได้แก่

1. ค้อนไม้

เป็นค้อนที่มีขนาดเล็กเหมาะมือ มักทำจากไม้ชิงชัน ไม้แดง เป็นไม้เนื้อแข็ง มีน้ำหนักค่อนข้างเบาเพื่อไม่ให้กินแรงของผู้ใช้ หัวของค้อนมีลักษณะเป็นตะลุมพุก เป็นค้อนที่ไม่ทำให้สิ่วที่ใช้ร่วมกันสึกกร่อนง่าย

2. สิ่ว

เป็นวัสดุที่ทำจากเหล็กกล้าทนทานและต้องลับให้มีความคมอยู่เสมอ มีด้วยกันหลายชนิดและแต่ละชนิดใช้งานในการแกะสลักต่างกัน ได้แก่ สิ่วขมวด สิ่วฉาก สิ่วขุด สิ่วเล็บมือ

3. มีดแกะสลัก

เป็นมีดที่มีขนาดเล็กและมีปลายแหลมใช้สำหรับแกะสลักรายละเอียดและใช้เซาะร่อง

4. เลื่อยไม้

ในขั้นตอนการแกะสลักจำเป็นจะต้องใช้เลื่อยที่ใช้สำหรับเลื่อยไม้โดยเฉพาะไว้สำหรับเลื่อยส่วนต่างๆ ของชิ้นไม้ให้ได้โครงรูปตามที่ต้องการ

5. ตะไบหรือบุ้ง

หลังจากการแกะสลักแล้ว ช่างแกะสลักจะใช้ตะไบในการขัดถูเพื่อกำจัดส่วนเกินที่ไม่ต้องการ ทำให้งานคมชัดและสวยขึ้น

6. กระดาษทราย

ใช้สำหรับขั้นตอนท้าย ๆ ของงานแกะสลัก เพื่อขัดให้ชิ้นงานเกิดความเรียบร้อย

7. กบสำหรับไสไม้

ใช้ไสไม้ในส่วนต่างๆ เมื่อต้องการเหลาให้ไม้ได้รูป

8. สว่านเจาะไม้

ใช้สำหรับเจาะไม้ให้เป็นรูเกิดเป็นลายฉลุตามแบบที่ต้องการ

9. ปากกาจับชิ้นงานและแท่นสำหรับยึด

ในการสลักลายต้องมีอุปกรณ์สองชิ้นนี้ไว้ใช้สำหรับจับยึดชิ้นงานให้อยู่กับที่ เพื่อความสะดวกในการแกะสลักลวดวาย

10. เครื่องมือและเครื่องเขียนเบ็ดเตล็ด

เช่น กระดาษสำหรับเขียนแบบ ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด กระดาษสำหรับลอกลาย กระดาษแข็ง เป็นต้น

11. วัสดุตกแต่งและเคลือบผิว

ใช้สำหรับตกแต่งผิวของชิ้นงานไม้แกะสลัก ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเสร็จชิ้นงานทั้งหมด เช่น แลกเกอร์ ชแล็ก ดินสอพอง ทินเนอร์ น้ำมันสน และสีใช้ทาไม้สีต่างๆ

เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการแกะสลักนับว่าเป็นของคู่ใจของช่างแกะสลัก และสำคัญอย่างมากในการทำงานแกะสลักไม้ ดังนั้นจึงต้องการความใส่ใจในการเก็บรักษาและการดูแลอย่างถูกวิธี ควรทำความสะอาดหลังจากการใช้งานทุกครั้งและเก็บรักษาเข้าชุดตามเซ็ทของอุปกรณ์ นอกจากนั้นก็จะต้องสำรวจเสมอว่าอุปกรณ์หรือเครื่องมือเหล่านั้นอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อยู่เสมอ เช่นการลับสิ่งให้คม ปิดฝาวัสดุที่เป็นของเหลวและเก็บในอุณหภูมิที่สมควรด้วย

การดูแลและรักษางานไม้ ให้สวยงามไปอีกหลายปี

งานไม้ ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ ของประดับที่ทำด้วยไม้ ของใช้ต่างๆ ที่ทำจากไม้ ล้วนแล้วแต่เป็นของที่มีเสน่ห์ เป็นงานที่ช่างต้องใช้ความประณีตในการสร้างสรรค์งานออกมา และเมื่อมาอยู่ในความครอบครองของเราก็ย่อมต้องอยากให้คงทนและสวยงามใช้งานไปได้อีกตราบนานปี การรักษาและดูแลงานไม้ให้สวยงามไปนานๆ มีเคล็ดลับและวิธีการคือ

1. รอยขีดขูดหรือด่าง
เมื่องานไม้มีอายุนานวันเข้าก็มักจะเกิดรอยขูดขีดขึ้น ให้ใช้ผ้าสะอาด นำมายองเนสมาหยดลงไปบนผ้าแล้วถูลงบนไม้ที่เป็นรอยนั้น รอยด่างต่างๆ จะจางลง ถ้าเนื้อไม้มีรอยลึกเข้าไปเป็นรอยขีดข่วน ก็ให้ใช้ยาขัดรองเท้าที่มีสีใกล้เคียงกับตัวงานไม้ทาลงบนรอยจะทำให้รอยจางลงได้

2.การทำความสะอาด
การทำความสะอาดงานไม้ประจำวัน ให้ใช้ไม้ขนไก่มาเป็นอุปกรณ์ในการปัดฝุ่นออกก่อน จากนั้นให้ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดจนสะอาด แต่หากพบว่ามีคราบและร่องรอยเปื้อนมาก ก็ให้ใช้กระดาษทรายเบอร์ที่ละเอียดๆ มาขัดออก งานไม้ที่เป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น งานที่ทำจากหวาย หรือทำจากวัสดุไม้ยาง ไม่ควรขัดแรงๆ แต่ให้ใช้แปรง อ่อนๆ ปัดหรือไม้ขนไก่มาปัดฝุ่นออก จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำพอหมาดเช็ดออก อีกที ถ้ามีรอยด่างหรือเปื้อนมากควรใช้น้ำส้มสายชูผสมเข้ากับน้ำอุ่นเช็ดให้ทั่ว นำขี้ผึ้งมาขัดเป็นขั้นตอนสุดท้าย

3 .การป้องกันงานไม้เสียหาย
งานไม้อาจจะเสียหายได้จากแมลงจพวกมอด ปลวกกัดแทะ หรือถ้างานไม้ตั้งอยู่ในที่แดดส่งถึงหรือวางกลางแดดนานๆ ก็จะเสียหาย ซีด โก่งแตก ปริ ได้ง่าย เมื่อผ่านไปนานวัน วิธีดูแลรักษาก็คือ ให้ซื้อน้ำยาทาไม้กันปลวกมาทาเคลื่อบไว้ และใช้ยูริเทนมาทาเพื่อป้องกันสีไม้และผิวของงานไม้ การทาต้องเตรียมเนื้อไม้ให้พร้อมด้วยการทำความสะอาดด้วยผ้าชุบน้ำหมาด จากนั้นทิ้งไว้จนแห้งดีแล้วจึงทาน้ำยาลงไป ระหว่างที่น้ำยายังไม่แห้งดีอย่าเผลอไปแตะหรือดูอย่าให้มีฝุ่น หรือ ผงตกลงไปถูกเนื้อไม้จะทำให้เป็นรอยไม่สวย

4. ที่สำหรับวาง งานไม้
สถานที่ที่วางงานไม้ ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ ของตกแต่งหรืองานไม้ใดๆ ก็ตาม ไม่ควรวางในที่ที่อับหรือชื้น แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้หมั่นระบายอากาศในบริเวณนั้นบ่อยๆ เช่นเปิดหน้าต่าง ใช้พัดลมระบายหรือนำงานไม้ออกมาตากแดดบ้าง เพื่องานไม้จะไม่ชื้นจนเป็นราหรทอเสียหาย

งานแกะสลักไม้คืออะไร มีขั้นตอนการทำอย่างไร

งานแกะสลักไม้ คือ การใช้วัสดุแข็งและคม เช่นโลหะชนิดต่างๆ ขูดลงบนเนื้อไม้ประเภทต่างๆ บางส่วน ทำให้เกิดลวดลายหลากหลาย ทั้งลายที่แกะลงไปในตัวเนื้อไม้และลายที่ทำให้เนื้อไม้เกิดเป็นรูปทรงต่างๆ แบบสามมิติ เป็นศิลปหัตกรรมและประติมากรรมชนิดหนึ่ง สำหรับประเทศไทยของเรางานแกะสลักไม้มีมายาวนานตั้งแต่ครั้งอดีต เป็นงานศิลปกรรมที่เริ่มจากความศรัทธาในศาสนาเป็นหลัก เรียกผลงานศิลปะการแกะสลักไม้ว่า เครื่องไม้จำหลัก

ขั้นตอนการแกะสลักเริ่มจากการเตรียมอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ ได้แก่  สิ่ว เป็นอุปกรณ์ที่ทำจากเหล็กกล้ามีความเหนียวและแข็ง นำมาเจียรและตีให้เกิดความคม มีทั้งลักษณะหน้าตรง หน้าโค้ง ขนาดแตกต่างกันออกไป สิ่วหน้าโค้ง หรือสิ่งโค้งเล็บมือ จะใช้ตอกไม้ในส่วนที่ต้องการให้ได้พื้นผิวรูปโค้งและใช้แต่งลายด้วยการปาดแต่ง สิ่วปากเสี้ยว เป็นสิ่วที่มีพื้นผิวเฉียงไปทางหนึ่งทางใดก็ได้ มีทั้งสิ่วเสี้ยวซ้ายและสิ่วเสี้ยวขวา อุปกรณ์อีกอย่างคือค้อนไม้ มักจะทำจากไม้ชิงชันหรือไม้แก่นมะขาม มีเส้นผ่าศูนย์กลางตัวค้อนประมาณ 5-6 นิ้ว ใช้คู่กันในการตอกด้ามสิ่ว วัสดุไม้ที่นำมาแกะสลักต้องเลือกชนิดของไม้ที่มีเนื้อไม้ที่เหมาะในการแกะสลัก ชนิดไม้ที่นิยมนำมาแกะสลักคือ ไม้ชิงชัน ไม้สัก ไม้โมกมันและไม้ฉำฉา

งานที่ได้จากการแกะสลักไม้มีสามประเภทก็คือ ประเภทนูนสูง ประเภทนูนต่ำและประเภทลอยตัว  เริ่มมจากจะต้องเลือกรูปแบบของชิ้นงานว่าจะทำชิ้นงานแกะสลักออกมาเป็นลักษณะใดและภาพใด ภาพแกะสลักนูนต่ำ นูนสูง หรือลอยตัว จากนั้นต้องเลือกวัสดุหลักคือไม้ให้ได้ขนาดและรูปทรงที่เหมาะสมกับรูปแบบของงานทแกะสลักที่จะทำด้วย ในการแกะสลักเบื้องต้นครั้งแรกเรียกกันว่า โกลน เริ่มต้นการแกะสลักด้วยการโกลนเปรียบเสมือนการขึ้นโครงในการวาดภาพ การโกลนนั้นถือว่าสำคัญมาก เมื่อโกลนจนได้รูปทรงและลวดลายเบื้องต้นที่เป็นโครงร่างนำทางแล้ว จึงทำการแกะสลักเสลาไม้ในรายละเอียดที่ค่อยๆ ละเอียดขึ้น ชิ้นงานก็จะได้ความชัดเจน คมและสวยงามมากขึ้นเรื่อยๆ เน้นความอ่อนช้อยและซับซ้อนในรายละเอียด เมื่อแกะสลักจนได้ลวดลายที่ต้องการแล้วก็มาถึงขั้นตอนการแต่งชิ้นงาน ให้เนี้ยบด้วยการใช้กระดาษทรายขัดส่วนเกินออกให้ได้รูป จากนั้นก็ทาด้วยดินสอพองต่อด้วยน้ำมันเคลือบเนื้อไม้ หรือจะเลือกทาน้ำมันชักเงา ขึ้นอยู่กับว่าต้องการให้งานานแกะสลักนี้ออกมาเป็นลักษณะใด จึงเป็นอันเสร็จขั้นตอน ช่างแกะสลักไม้ที่เก่งและมีฝีมือเป็นเลิศ เมื่อเสร็จขั้นตอนการแกะสลักด้วยสิ่วแล้ว งานจะออกมาสวยงามสำเร็จโดยไม่ต้องใช้กระดาษทรายหรือสิ่งใดมาขัดแต่งชิ้นงานเลย

ลักษณะลายไม้ที่ได้รับความนิยมในการสร้างบ้านไม้

ไม้ เป็นวัสดุประเภทหนึ่งที่มนุษย์รู้จักนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการสร้างที่อยู่อาศัยมาอย่างยาวนาน ด้วยความที่เป็นวัสดุอันเกิดมาจากธรรมชาติจึงทำให้ไม้ยังคงเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมสำหรับการใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้านของมนุษย์มาอย่างต่อเนื่องยาวนานเสมอมา การสร้างบ้านในยุคนี้เองแม้ว่าจะมีวัสดุหลากหลายประเภทให้ได้เลือกใช้งาน อาทิ ปูน, เหล็ก, ไม้เทียม, พลาสวูด เป็นต้น แต่ยังไงเสียไม้เองก็ยังคงเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมเสมอมาไม่เสื่อมคลาย

ประเภทของลายไม้ที่ได้รับความนิยมในการนำมาสร้างบ้าน

สำหรับการเลือกไม้ในการนำมาใช้สร้างบ้านก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยในหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นความคงทนแข็งแรง การใช้งานของที่พัก ความสามารถในการหาไม้มาใช้ งบประมาณ ทว่าหากมองถึงเรื่องความสวยงามของไม้ในการนำมาสร้างบ้าน ลายไม้จัดเป็นสิ่งที่จะสามารถบ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่าไม้ชนิดนี้มีความสวยงามมากขนาดไหน ซึ่งลายไม้แต่ละประเภทก็จะมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับตัวของไม้ชนิดดังกล่าว สำหรับคนที่มองเรื่องของความสวยงามในการสร้างบ้านไม้เป็นหลักก็จะเลือกมองที่ลายไม้ว่าลายไม้ชนิดไหนสวยถูกใจตนเองมากที่สุด เพราะฉะนั้นลองมารู้จักกับลายไม้จากไม้ประเภทต่างๆ ที่มักจะได้รับความนิยมในการนำมาสร้างบ้านว่ามีอะไรบ้าง

  1. ลายไม้เต็ง – ไม้เต็งจัดเป็นไม้เนื้อแข็งประเภทหนึ่งลักษณะของลายจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนแต่เมื่อตัดทิ้งไว้สักพักก็จะกลายเป็นสีน้ำตางที่เข้มขึ้น นิยมใช้สำหรับการทำงานภายนอกเนื้อจากลายจะค่อนข้างหยาบแข็ง
  2. ลายไม้แดง – เป็นไม้เนื้อแข็งที่ลายไม้จะเป็นลักษณะสีน้ำตาลอมแดงเข้ม ผิวบริเวณลายไม้จะค่อนข้างมีความชัดเจนอย่างมากลักษณะเป็นแบบสัมผัสผิวลายที่จะมีสีสันสวยงามมากๆ ส่วนใหญ่นิยมนำมาทำเป็นวงกบ, พื้น, หน้าต่าง รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ด้วย
  3. ลายไม้มะค่า – เป็นไม้เนื้อแข็งที่ค่อนข้างได้รับความนิยมอีกชนิดในการนำมาสร้างเป็นบ้านไม้ เนื่องจากว่านอกจากจะมีความแข็งแรงแล้ว ลายไม้ สีไม้ จะมีความชัดเจน สวยงาม ถ้าหากเป็นที่ปลูกจากประเทศไทยจะมีสีน้ำตาลเข้มอย่างเห็นได้ชัด นิยมนำมาสร้างเป็นพื้นบันได พื้นบ้าน เป็นต้น
  4. ไม้ตะแบก – เป็นไม้ที่มีลายไม้สีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนลักษณะของลายไม้จะค่อนข้างสวยงามใกล้เคียงกับลายของไม้สักเลยทีเดียว นิยมนำมาไสแล้วจึงใช้ตกแต่งในส่วนต่างๆ ของบ้าน เช่น บานประตู, พื้นบ้าน เป็นต้น
  5. ไม้เนื้ออ่อน – เป็นไม้ที่มีลักษณะอ่อน มีวงจากลายไม้กว้าง ลายไม้จึงอาจไม่ได้เยอะเหมือนกับประเภทอื่นๆ แต่ก็นิยมนำมาสร้างเป็นสิ่งต่างๆ ภายในบ้าน

อุปกรณ์สำหรับช่างไม้มีอะไรบ้าง

ช่างไม้ถือว่าเป็นอาชีพหนึ่งที่ค่อนข้างมีความสำคัญอย่างมาก ถือว่าเป็นอาชีพที่จำเป็นต้องใช้ความชำนาญและความเชี่ยวชาญค่อนข้างสูง รวมถึงต้องค่อนข้างมีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์สำหรับใช้ในงานไม้ด้วย ลองมาดูอุปกรณ์ของช่างไม้ว่ามีอุปกรณ์ประเภทใดบ้างที่ช่างไม้จำเป็นต้องเลือกนำมาใช้งาน

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับช่างไม้

  1. ตลับเมตร – อุปกรณ์อันดับต้นๆ ที่เราจะเห็นช่างไม้ทุกคนพกติดตัวตลอดเวลา เพราะนี่คืออุปกรณ์สำหรับการวัดขนาดต่างๆ เพื่อตัด ต่อ ประกอบ วัดความสูง ความยาว ความกว้าง ความหนา ปกติตลับเมตรก็จะมีหน่วยวัดเป็นเมตร ฟุต นิ้ว เซนติเมตร
  2. ฉากเหล็ก – อุปกรณ์สำหรับการวัดเพื่อขีดมุมฉาก ปกติก็คือจะทำการวางฉากลงบนตัวไม้ ขอบจะต้องแนบสนิทกับผิวในด้านเรียบ จากนั้นก็สามารถขีดเส้นได้ตามที่ต้องการ
  3. ขอขีดไม้ – เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ขีดเพื่อเอาไว้สำหรับทำการเลื่อย ผ่า หรือทำรูเดือย ไม้ให้ตรงตามที่วัดเอาไว้ จะมีส่วนหัว ตัวแขนยึดที่แน่นด้วยสลักหรือขอยึด ปลายข้างหนึ่งจะมีเข็มปลายแหลมหรือตัวสลักเมื่อเอาออกแล้วจะเอาไว้วัดระยะห่างจากบริเวณปลายเข็มกับตัวส่วนหัว
  4. เลื่อย – เป็นเลื่อยที่เราจะเห็นโดยทั่วไป มีที่จับอยู่ที่ปลายด้านหนึ่ง ส่วนฟันเลื่อยที่ใช้สำหรับการตัดจะทำจากเหล็กสปริง ขนาดบาง ปลายเรียว เอาไว้สำหรับการเลื่อยไม้โดยเฉพาะ
  5. กบไสไม้ – อีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญของเหล่าบรรดาช่างไม้ทั้งหลาย ใช้เพื่อขัดผิวไม้ให้เรียบ ไม่มีเสี้ยน หรือขัดเพื่อให้ได้ทรงไม้ตามที่ต้องการ
  6. สิ่วแต่งไม้ – มีเอาไว้สำหรับการขูดผิวไม้หรือปากไม้ให้เรียบขึ้น ปกติแล้วด้ามจับจะเป็นยางหรือพลาสติก ส่วนตัวก้านที่เอาไว้ใช้ขูดจะทำจากเหล็กกล้า หัวแบน ซึ่งสิ่วบางตัวมีความคมค่อนข้างมาก
  7. สิ่วเจาะ – มีเอาไว้สำหรับการเจาะรูเดือย จะมีความหนา ทว่าความคมกับความกว้างจะน้อยกว่าสิ่วแต่งไม้ เวลาใช้งานจึงจำเป็นต้องใช้ค้อนช่วยทุบให้แซะเข้าเนื้อไม้ได้ดี
  8. สว่านข้อเสือ – ใช้สำหรับการเจาะรูเพื่อใส่น๊อตหรือสกรู เวลาใช้ต้องใส่ดอกสว่านที่จะมีหลายชนาดหลายลักษณะตามแต่ความต้องการสำหรับใช้งาน
  9. ค้อน – เป็นอีกอุปกรณ์ที่เห็นหน้าค่าตากันบ่อยมาก ใช้สำหรับการตีหรือทุบอุปกรณ์ต่างๆ ให้เป็นไปตามที่ต้องการ อาทิ ตะปู ดอกสว่าน เป็นต้น
  10. เลื่อยฉลุ – เป็นเลื่อยขนาดเล็ก ตัวโครงจะเป็นโลหะมีใบเลื่อยขนาดเล็ก ส่วนมากจะเลือกใช้กับไม้ที่มีขนาดบางและไม่สามารถใช้เลื่อยปกติได้เนื่องจากว่ามันจะทำให้ไม้หัก ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่งานตกแต่งมากกว่างานที่ต้องใช้พละกำลังเพื่อตัดให้ไม้ขาดออกจากกัน